บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2017

เรียนรู้การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน และใช้งานบอร์ด Arduino ตอนที่ 2 ทำความรู้จักกับหลอดไฟแอลอีดี

รูปภาพ
สวัสดีครับวันเรามีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาฝากให้กับผู้ที่สนใจเช่นเคยครับ จากครั้งที่แล้วเราได้ทำความรู้จักกับโปรแกรมที่ใช้ในการจำลองการทำงานต่างๆ บนบอร์ด Arduino กันไปแล้ว วันนี้เราจะมา มาพูดถึงพื้นฐานทางไฟฟ้าและทำความรู้จักกับหลอดไฟแอลอีดีกันก่อนครับ         ก่อนที่เราจะเข้าสู่เนื้อหาหลายๆ คนเคยสงสัยไหมครับ ว่าหลอดไฟแอลอีดีสว่างได้ยังไง และที่สำคัญทำไมถึงมีหลายสี ทั้งๆ ที่ตัวหลอดไฟแอลอีดีเองก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน รูปที่ 1 หลอดไฟ LED (Light Emitting Diode)         ที่จริงแล้วหลอดไฟ LED (Light Emitting Diode) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดหนึ่งที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านและจะปล่อยแสงสว่างออกมาทันที แสงสว่างที่เกิดขึ้นมาจากการเคลื่อนของอิเล็กตรอนภายในสารกึ่งตัวนำ สีของแสงขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นำมาใช้ในการสร้าง LED ทั้งชนิดที่เป็นของเหลวและก๊าซ เช่น ใช้แกลเลียมฟอสไฟด์ (GALLIUM PHOSPHIDE,GaP) ทำให้เกิดแสงสีแดง ใช้แกลเลียมอาซีไนด์ ฟอสไฟด์ (GALLIUM ARSENIDE PHOSPHIDE,GaAsP) เกิดแสงสีเหลืองและเขียว การควบคุมปริมาณแสงสว่างจะควบคุมกระแสที่ไหลผ่านหลอด LED หากกระแสที่ไหลสูงมากไปจะทำ

เรียนรู้การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน และใช้งานบอร์ด Arduino ตอนที่ 1 ทำความรู้จักกับโปรแกรม Tinkercad Circuits

รูปภาพ
สวัสดีครับวันนี้ รักการเขียนโค้ด มีโปรแกรมที่ใช้สำหรับเรียนรู้การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน และใช้งานบอร์ด Arduino สำหรับผู้เริ่มต้น มาแบ่งปันให้กับผู้ที่สนใจได้รู้จักและทดลองใช้งานกันครับ สำหรับโปรแกรมที่พูดถึงเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบวงจร และจำลองการทำงานต่างๆบนบอร์ด Arduino ซึ่งเป็นไมโครคอนโทรเลอร์ในตระกูล AVR เบอร์ ATMEGA328 โดยที่เราสามารถเลือกอุปกรณ์ต่างๆ เช่นเซนเซอร์ที่ใช้ในการวัดค่าแสง หลอดไฟแอลอีดีเพื่อใช้ในการแสดงสถานะ เซนเซอร์ที่ใช้ในการวัดระยทาง และมอเตอร์ มาทดสอบได้ตามต้องการครับ โดยโปรแกรมดังกล่าวทำงานบนเว็บไซต์ ซึ่งเราสามารถคลิกที่ลิงค์ tinkercad.com/circuits  เพื่อเข้าไปทดลองใช้งานได้ครับ ก่อนเริ่มใช้งาน จะต้อง SignUp ก่อนเพื่อให้มีบัญชีผู้ใช้ โดยสามารถใช้อีเมล์ในการสมัครได้ หรือจะใช้บัญชีผู้ใช้ของ Facebook ก็ได้ครับ รูปที่ 1 หน้าหลักเว็บไซต์    tinkercad.com/circuits ที่มา:  https://www.tinkercad.com/learn/ ข้อดีของ tinkercad.com/circuits  ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมลงบนคอมพิวเตอร์ ทำงานบนเว็บไซต์ได้เลย ภาพสวยงามสามารถนำไปอ้างอิงในการทำโปร

ESP32 ไมโครชิพรุ่นจิ๋ว สำหรับงานพัฒนาด้าน Internet-of-Things (IoT)

รูปภาพ
บทความนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับนักพัฒนา และ Maker รุ่นใหม่ในยุค 4.0 ซึ่งในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เราจำเป็นจะต้องเรียนรู้และทำความรู้จักกับเครื่องมือที่จะนำมาใช้ วันนี้ผู้เขียนขอแนะนำให้รู้จักกับ ESP32 รูปที่ 1  บอร์ด  ESP32 DEVKIT V1 ไมโครชิพรุ่นจิ๋ว ราคาถูก ที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Espressif เพื่อรองรับการพัฒนาผลงานและสิ่งประดิษฐ์ด้าน Internet-of-Things (IoT) ภาพรวม ESP32 รองรับการเชื่อมต่อ Wireless 801.11 b/g/n/e/i ด้วยความเร็วสูงสุด 150Mbps  รองรับการเชื่อมต่อผ่าน WPA/WPA2 และ WPS  รองรับ Wi-Fi Direct (P2P) / Station Mode / Soft AP Mode  รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth 4.2 BR/EDR/LE  รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth ทั้ง Class 1/Class 2/Class 3  CPU Xtensa® Dual-Core 32-bit LX6 400MIPS Internal  RAM 520KB  รองรับ SD/eMMC/SDIO Host  รองรับ Touch Sensor จำนวน 10 channels  มี SPI 4 Interfaces  มี I2C 2 Interfaces และ I2S 2 Interfaces  มี GPIO 32 Pin  มี UART 2 Interfaces  มี Hardware PWM  รองรับ Remote Controller  มี 32 bit-timer 2 ตัว / 64

ตู้จ่ายยาสามัญประจำบ้านอัจฉริยะสำหรับให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

รูปภาพ
        ตู้จ่ายยาสามัญประจำบ้านอัจฉริยะสำหรับให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นแนวคิดที่สามารถช่วยในการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ตู้ยามีระบบสำหรับตรวจสอบจำนวนยาที่อยู่ในตู้และรายงานจำนวนยาที่คงเหลืออยู่ให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและจะมีการแจ้งเตือนเมื่อยาในตู้ใกล้จะหมด ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการจ่ายยาสามัญประจำบ้าน โดยอาศัยการกรอกแบบสอบถามอย่างง่ายผ่านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประเมินโรคเบื้องต้นที่สัมพันธ์กับสรรพคุณของยาและทำการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยแบบอัตโนมัติตามอาการของโรคที่ถูกประเมินผ่านซอฟต์แวร์ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการให้บริการกับผู้ป่วยที่เข้ารับใช้บริการ ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องต่อคิวในการเข้ารับบริการจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทุกครั้งที่มีการใช้บริการระบบจะมีการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่เข้ารับการใช้บริการทุกครั้ง โดยจะเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการระบุตัวตนจากบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ป่วยรวมถึงอาการของโรคด้วย เพื่อใช้เป็นประวัติในการใช้บริการและสามารถนำข้อมูลมาทำการปร

เครื่องแจกรหัสอินเทอร์เน็ตโดยใช้บัตรประชาชน (ID Smart Card Authentication Hotspot Appliance)

รูปภาพ
        เครื่องแจกรหัสอินเทอร์เน็ตโดยใช้บัตรประชาชนมีลักษณะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวในการประมวลผลการทำงาน โดยเชื่อมต่ออุปกรณ์อ่านข้อมูลจากบัตรประชาชนซึ่งใช้เทคโนโลยีสมาร์ทการ์ดไอดี (Smart Card Reader ID) และพิมพ์ข้อมูลรหัสผ่านสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องพิมพ์ความร้อน (Thermal Printer) แสดงผลการทำงานผ่านหลอดไฟแอลอีดี ซึ่งการประดิษฐ์นี้มีความมุ่งหมายในการพัฒนาเครื่องแจกรหัสอินเทอร์เน็ตโดยใช้บัตรประชาชนเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ให้บริการและผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในการแจกรหัสผ่านสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต เอกสารงานวิจัย รายละเอียดการประดิษฐ์ วิจัยและพัฒนาโดย   รักการเขียนโค้ดดอทคอม   lovecoding.com สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Facebook:  รักการเขียนโค้ด ดอทคอม  Tell: 091-4782789

ระบบตรวจสอบปริมาณขยะรีไซเคิลอย่างชาญฉลาด

รูปภาพ
        ระบบจัดการถังขยะรีไซเคิลอย่างชาญฉลาดเป็นระบบประยุกต์การใช้งาน Internet of Things เพื่อการบริหารจัดการในการจัดเก็บขยะรีไซเคิล ซึ่งช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการวางแผนการจัดเก็บขยะรีไซเคิลโดยระบบจะทำการตรวจวัดเปอร์เซ็นต์ปริมาณขยะรีไซเคิลในถังขยะและอ่านค่าจำนวนครั้งที่มีการใส่ขยะ พร้อมทั้งแสดงการแจ้งเตือนสถานะผ่านหลอดแอลอีดีและทำการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลและแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ เอกสารงานวิจัย สไลด์นำเสนอผลงาน วิจัยและพัฒนาโดย   รักการเขียนโค้ดดอทคอม   lovecoding.com สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Facebook:  รักการเขียนโค้ด ดอทคอม  Tell: 091-4782789

ถ้าทำวันเดียวไม่เสร็จเราก็จะทำไปอีกหลายๆ วัน

รูปภาพ
การที่เราได้ลงมือทำ ศึกษาค้นคว้าและหาวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด อย่ายึดติดกับการเรียนรู้ที่ต้องรอให้มีคนมาสอน ถ้าคุณมีความพยายามมากพอ ในอนาคตคุณจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน คำคมโดย   รักการเขียนโค้ดดอทคอม   lovecoding.com สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Facebook:  รักการเขียนโค้ด ดอทคอม  Tell: 091-4782789  

งานวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ ที่ทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

รูปภาพ
        งานวิจัยและโปรเจคต่างๆ ผู้เขียนบล็อกได้ทำการพัฒนาขึ้นมาร่วมกับทีมงานขณะที่ทำการศึกษาอยู่ และเห็นว่าอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาหรือนำไปต่อยอด หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลทางด้านเทคนิคเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามมาทางผู้เขียนได้ครับ ระบบตรวจสอบปริมาณขยะรีไซเคิลอย่างชาญฉลาด          ระบบจัดการถังขยะรีไซเคิลอย่างชาญฉลาดเป็นระบบประยุกต์การใช้งาน Internet of Things เพื่อการบริหารจัดการในการจัดเก็บขยะรีไซเคิล ซึ่งช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการวางแผนการจัดเก็บขยะรีไซเคิลโดยระบบจะทำการตรวจวัดเปอร์เซ็นต์ปริมาณขยะรีไซเคิลในถังขยะและอ่านค่าจำนวนครั้งที่มีการใส่ขยะ พร้อมทั้งแสดงการแจ้งเตือนสถานะผ่านหลอดแอลอีดีและทำการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลและแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ เอกสารงานวิจัย สไลด์นำเสนอผลงาน เครื่องแจกรหัสอินเทอร์เน็ตโดยใช้บัตรประชาชน (ID Smart Card Authentication Hotspot Appliance)         เครื่องแจกรหัสอินเทอร์เน็ตโดยใช้บัตรประชาชนมีลักษณะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสมองกล

ตอนที่ 1 ทำความรู้จักกับ Scratch

รูปภาพ
        การเขียนโปรแกรมหลายๆ คนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องยาก เลยไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจ แต่เดี๋ยวนี้เราจะเห็นได้ว่ามีเทคโนโลยีเริ่มมีการพัฒนามากขึ้น ทักษะการเรียนรู้นี้จึงถือว่ามีความสำคัญ ผู้เขียนเลยอยากจะเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวช่วยให้กับผู้ที่ต้องการศึกษา ทำความเข้าใจ และเรียนรู้หลักการเขียนโปรแกรมได้แบบง่ายๆ ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นในการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม         ทำไมเราควรหัดเขียนโปรแกรม เมื่อเราเกิดมา เราเรียนรู้การฟัง และ การพูด เพื่อใช้สื่อสาร เมื่อเข้าสู่ระบบโรงเรียน เรียนหนังสือ เราเรียนรู้การอ่าน และ การเขียน เมื่อเราก้าวเข้าสู่สังคมเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต เราเอาแต่ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ น้อยคนนักที่จะเขียนโปรแกรมขึ้นมาใช้เอง สิ่งที่พึงรู้  "อย่ากลัวที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ เพราะโลกเรามันไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ตลอดเวลา ขอแค่เราสนุกกับมันแค่นี้ก็พอ"         โปรแกรมที่ผู้เขียนจะแนะนำให้รู้จักวันนี้ก็คือ Scratch เป็นการเขียนโปรแกรมในลักษณะบล็อกโปรแกรมมิ่งที่ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานได้อย่างง่าย เช่น นิทานที่สามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้

บทที่ 1 ตัวแปร (variable)

รูปภาพ
                  สวัสดีผู้อ่านทุกคน วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องตัวแปรกัน ซึ่งหลายๆ คนที่เรียนมาก็คงจะคุ้นๆ หูกันบ้างนะครับ เพราะเรื่องตัวแปรเราใช้บ่อยมากในวิชาฟิสิกส์ เคมี และ คณิตศาสตร์ ทีจริงแล้วตัวแปรก็คือการแทนค่าต่างๆ ด้วยสัญลักษณ์ เมื่อเราทำการแทนค่า เราก็สามารถที่จะนำสัญลักษณ์นั้นมาใช้ในการคิดคำนวณได้ ยกตัวอย่างเช่น                    กำหนดให้      x = 5                            y = 4                          z = x + y     ผลลัพธ์ที่ได้  z จะมีค่าเท่ากับ 9 เพราะเราได้นำเอาค่าที่อยู่ในตัวแปร x มาบวกกับตัวแปร y และผลลัพธ์ที่ได้เราเก็บไว้ในตัวแปร z ครับ         เห็นไหมล่ะครับในหลักการเขียนโปรแกรมก็อ้างอิงกับหลักการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจกันได้แบบง่ายๆ  ตัวแปรในทางคอมพิวเตอร์คือการเก็บค่าต่างๆ ไว้ในหน่วยความจำซึ่งเราสามารถเรียกใช้งานได้ครับ แน่นอนว่าตัวแปรที่เราจัดเก็บไว้ไม่ได้มีเฉพาะแค่เพียงตัวเลขที่เป็นจำนวนเต็มเท่านั้น อาจจะเป็นตัวอักษร ข้อความ หรือตัวเลขที่เป็นทศนิยมก็ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดชนิดของข้อมูล (data t