เรียนรู้การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน และใช้งานบอร์ด Arduino ตอนที่ 1 ทำความรู้จักกับโปรแกรม Tinkercad Circuits

สวัสดีครับวันนี้ รักการเขียนโค้ด มีโปรแกรมที่ใช้สำหรับเรียนรู้การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน และใช้งานบอร์ด Arduino สำหรับผู้เริ่มต้น มาแบ่งปันให้กับผู้ที่สนใจได้รู้จักและทดลองใช้งานกันครับ สำหรับโปรแกรมที่พูดถึงเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบวงจร และจำลองการทำงานต่างๆบนบอร์ด Arduino ซึ่งเป็นไมโครคอนโทรเลอร์ในตระกูล AVR เบอร์ ATMEGA328 โดยที่เราสามารถเลือกอุปกรณ์ต่างๆ เช่นเซนเซอร์ที่ใช้ในการวัดค่าแสง หลอดไฟแอลอีดีเพื่อใช้ในการแสดงสถานะ เซนเซอร์ที่ใช้ในการวัดระยทาง และมอเตอร์ มาทดสอบได้ตามต้องการครับ โดยโปรแกรมดังกล่าวทำงานบนเว็บไซต์ ซึ่งเราสามารถคลิกที่ลิงค์ tinkercad.com/circuits เพื่อเข้าไปทดลองใช้งานได้ครับ ก่อนเริ่มใช้งาน จะต้อง SignUp ก่อนเพื่อให้มีบัญชีผู้ใช้ โดยสามารถใช้อีเมล์ในการสมัครได้ หรือจะใช้บัญชีผู้ใช้ของ Facebook ก็ได้ครับ


รูปที่ 1 หน้าหลักเว็บไซต์  tinkercad.com/circuits
ที่มา: https://www.tinkercad.com/learn/

ข้อดีของ tinkercad.com/circuits 
  • ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมลงบนคอมพิวเตอร์ ทำงานบนเว็บไซต์ได้เลย ภาพสวยงามสามารถนำไปอ้างอิงในการทำโปรเจคได้ มีอุปกรณ์ให้เลือกเยอะแยะมากมาก
  • เราสามารถที่จะทำการทดลองใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ก่อนที่จะนำมาใช้งานจริงเพื่อลดข้อผิดพลาดของผู้ใช้งาน
  • สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน สำหรับเรียนรู้การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้
ในโปรแกรมจำลองมีอุปกรณ์ต่างๆ มากมายให้เราได้ทดลองใช้งาน ทั้งเซนเซอร์ มอเตอร์ และไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อให้เราได้เรียนรู้และฝึกทักษะทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ในการนำอุปกรณ์ต่างมาใช้งานร่วมกัน

รูปที่ 2 Input Sensor
ที่มา: https://www.tinkercad.com/learn/


รูปที่ 3 Output Sensor
ที่มา: https://www.tinkercad.com/learn/

สามารถเลือกใช้งานบอร์ด Arduino Uno R3 บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ยอดนิยมสำหรับนักพัฒนาและนักประดิษฐ์ แถมยังมีโฟโต้บอร์ดให้อีก เรียกได้ว่าครบชุดเลย


รูปที่ 4 บอร์ดควบคุมและบอร์ดที่ใช้ทดลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา: https://www.tinkercad.com/learn/
        
นอกจากที่เราจะได้ฝึกทักษะความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ในเว็บไซต์เรายังสามารถที่จะฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมและสั่งงานอุปกรณ์ต่างได้อีกด้วย สามารถเขียนโปรแกรมได้ทั้งในลักษณะของบล็อกโปรแกรมมิ่งและแบบพิมพ์โดยใช้ภาษาซี


รูปที่ 5 หน้าต่างที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม
แบบบล็อกและแบบพิมพ์ เพื่อควบคุมและสั่งงานอุปกรณ์ต่างๆ
ที่มา: https://www.tinkercad.com/learn/

ที่น่าสนใจคือ ในเว็บไซต์สามารถจำลองการทำงานของโปรแกรมดังกล่าวได้ (มีตัวจำลองการทำงานหรือ Simulator) มีอุปกรณ์เครื่องมือวัดแบบเสมือนจริง (Virtual Instruments) โดยที่เราสามารถทดสอบอุปกรณ์ต่างๆได้ทันทีเลย เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีไปไกลมากครับมีเครื่องมือต่างๆ มากมายให้เราได้ทดลองใช้งาน บทความนี้จึงเกิดขึ้นมาเพื่อที่จะแบ่งปันความรู้และข่าวสารการเขียนโปรแกรมให้กับผู้ที่สนใจ ในบทความถัดไปเราจะมาทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่าหลอดไฟแอลอีดี ว่าสิ่งนี้คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร และมีความสำคัญยังไงในชีวิตประจำวันของเรา ติดตามต่อกันด้วยนะครับ

แหล่งอ้างอิง
https://www.tinkercad.com/learn/
https://circuits.io/home/learn

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Facebook: รักการเขียนโค้ด ดอทคอม 
Tell: 091-4782789

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำ Web server เพื่อรับข้อมูลจาก Sensor และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ตอนที่ 2 ส่งข้อมูลจากบอร์ด NodeMCU ขึ้น Web Server

การควบคุมมอเตอร์ Brushless ด้วย Arduino