บทที่ 1 ตัวแปร (variable)

         
        สวัสดีผู้อ่านทุกคน วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องตัวแปรกัน ซึ่งหลายๆ คนที่เรียนมาก็คงจะคุ้นๆ หูกันบ้างนะครับ เพราะเรื่องตัวแปรเราใช้บ่อยมากในวิชาฟิสิกส์ เคมี และคณิตศาสตร์ ทีจริงแล้วตัวแปรก็คือการแทนค่าต่างๆ ด้วยสัญลักษณ์ เมื่อเราทำการแทนค่า เราก็สามารถที่จะนำสัญลักษณ์นั้นมาใช้ในการคิดคำนวณได้ ยกตัวอย่างเช่น  
               
กำหนดให้     x = 5       
                    y = 4     
                    z = x + y    

ผลลัพธ์ที่ได้ z จะมีค่าเท่ากับ 9 เพราะเราได้นำเอาค่าที่อยู่ในตัวแปร x มาบวกกับตัวแปร y และผลลัพธ์ที่ได้เราเก็บไว้ในตัวแปร z ครับ


        เห็นไหมล่ะครับในหลักการเขียนโปรแกรมก็อ้างอิงกับหลักการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจกันได้แบบง่ายๆ  ตัวแปรในทางคอมพิวเตอร์คือการเก็บค่าต่างๆ ไว้ในหน่วยความจำซึ่งเราสามารถเรียกใช้งานได้ครับ แน่นอนว่าตัวแปรที่เราจัดเก็บไว้ไม่ได้มีเฉพาะแค่เพียงตัวเลขที่เป็นจำนวนเต็มเท่านั้น อาจจะเป็นตัวอักษร ข้อความ หรือตัวเลขที่เป็นทศนิยมก็ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดชนิดของข้อมูล (data type) ในการจัดเก็บด้วย ซึ่งในทางคอมพิวเตอร์แบ่งรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลได้ดังนี้


ตัวอักษร: char มีขนาด 8 บิต
ex . 'A', 'a', 'B', 'b', 'C', 'c'  
จำนวนเต็ม: integer มีขนาด 16 bit          
ex. -5, -4, -3, -2, -1, 0, 1, 2, 3, 4, 5
จำนวนจริง(ทศนิยม): float มีขนาด 32 บิต, double มีขนาด 64 บิต        
ex. 0.1, 1.1, 2.1, 3.1         
ข้อความ: string       
ex. "lovecoding", "รักการเขียนโค้ดดอทคอม"

ข้อดีของการใช้ตัวแปร        
        1. สามารถแก้ไขและเปลี่ยนแปลงพารามิเตอร์ต่างๆ ได้รวดเร็วขึ้น
        2. ใช้เพื่อเก็บค่าต่างๆ ที่อยู่ในหน่วยความจำ
ข้อเสียของการใช้ตัวแปร
        1. การประกาศตัวแปรเป็นการจองพื้นที่ในหน่วยความจำถ้าหากกำหนดชนิดของข้อมูลไม่เหมาะสมกับข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บจะทำให้เปลืองพื้นที่หน่วยความจำ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Facebook: รักการเขียนโค้ด ดอทคอม 
Tell: 091-4782789

ความคิดเห็น

  1. เริ่มต้นเรียนรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยเรื่องตัวแปรกันก่อนนะครับ โดยทั่วไปแล้ว ตัวแปรคือการแทนค่าสิ่งที่เราต้องการสื่อความหมายด้วยสัญลักษณ์ เพื่อใหรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร ซึ่งเราสามารถนำสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแทนค่านั้นมาใช้ในการคิดคำนวณได้ครับ ในทางคอมพิวเตอร์ตัวแปรคือการจัดเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำ Web server เพื่อรับข้อมูลจาก Sensor และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ตอนที่ 2 ส่งข้อมูลจากบอร์ด NodeMCU ขึ้น Web Server

การควบคุมมอเตอร์ Brushless ด้วย Arduino

เรียนรู้การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน และใช้งานบอร์ด Arduino ตอนที่ 1 ทำความรู้จักกับโปรแกรม Tinkercad Circuits