บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

ESP-IDF ตอนที่ 1 ESP32 Get Started

รูปภาพ
วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้งานบอร์ด DOIT ESP32 DEVKIT V1 กันนะครับ สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าเจ้าบอร์ด ESP32 ที่เรากำลังพูดถึงอยู่เนี่ยหน้าตาเป็นยังไง แล้วมันใช้ทำอะไร สามารถเข้าไปดู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ครับ  ESP32 ไมโครชิพรุ่นจิ๋ว สำหรับงานพัฒนาด้าน Internet-of-Things (IoT)         ในการใช้งานเจ้าบอร์ด ESP32 เราต้องมีเครื่องมือทีใช้ในการเขียนโปรแกรมและอัพโหลดโปรแกรมไปที่บอร์ด เครื่องมือที่เรานิยมใช้ในการพัฒนากันส่วนมากก็จะเป็น Arduino IDE ใช่ไหมล่ะครับ แต่การพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ Arduino IDE สำหรับบอร์ด ESP32 นั้นยังมีข้อจำกัดในเรื่องของ Librarys ที่มีให้เราใช้งานซึ่งมันยังมีไม่ครบครับ ผู้เขียนได้มีโอกาสทดลองใช้งาน ESP-IDF และเห็นว่าทาง Espressif ได้พัฒนา Librarys มาให้เราใช้เยอะมากและที่สำคัญผู้เขียนได้ทดสอบแล้วนะครับสามารถใช้งานได้อย่างแน่นอน ความน่าสนใจของ ESP-IDF คือ เราสามารถใช้งาน Libraries ส่วนใหม่ๆ ที่ผู้พัฒนาทำขึ้นได้ก่อนใครๆ สิ่งที่เราต้องใช้เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับ ESP32 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux Toolchain สร้างแอพพลิเคชันสำหรับ ESP3

ทำ Web server เพื่อรับข้อมูลจาก Sensor และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ตอนที่ 2 ส่งข้อมูลจากบอร์ด NodeMCU ขึ้น Web Server

รูปภาพ
บทความก่อนหน้าเราได้สร้าง Web Server และเรียนรู้การส่งข้อมูลผ่าน URL หรือลิงค์คำขอกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาทำให้บอร์ด NodeMCU สามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi และส่งข้อมูลไปยัง Web Server นะครับ รูปที่ 1   บอร์ด NodeMCU เชื่อมต่อ WiFi และส่งข้อมูลไปยัง Web Server สิ่งที่จำเป็นต้องใช้ บอร์ด NodeMCU สายไมโคร USB ใช้สำหรับอัพโหลดโปรแกรม สัญญาน WiFi จากเร้าเตอร์คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรม Xampp สำหรับให้บริการ Web Server ความรู้พื้นฐานการรับส่งข้อมูลผ่านหน้าเว็บจากบทความตอนที่ 1 คลิกที่นี่เพื่ออ่าน ความสนใจด้านโปรแกรมมิ่ง และ IoT       Note สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าจะใช้งานบอร์ด NodeMCU ได้ยังไง สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความนี้ครับ  คลิ๊กที่นี่เพื่ออ่าน สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนที่เราจะลงมือทำ         ก่อนอื่นเลย มาทบทวนกัน… การที่เราจะส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แน่นอนว่าอุปกรณ์ที่เราต้องการส่งข้อมูลหากันนั้นไม่ได้อยู่ที่จุดเดียวกัน สิ่งที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถส่งและรับข้อมูลถึงกันได้เราเรียกว่า ระบบเครือข่าย (Networ

แก้ปัญหา Arduino UNO มีพอร์ต และ GPIO ไม่เพียงพอด้วยเทคนิคง่ายๆ

รูปภาพ
บทความตอนนี้ผู้เขียนอยากนำความรู้ที่ใช้อยู่มาแบ่งปันให้กับพี่ๆ เพื่อนๆ และน้องๆ ที่กำลังเรียนรู้และใช้งานบอร์ด Arduino UNO กันอยู่ครับ ปกติแล้วเวลาที่เราต้องการรับข้อมูล จากเซนเซอร์ต่างๆ เราจะใช้ 1 GPIO ต่อ 1 เซนเซอร์ ถูกต้องใช่ไหมครับ แต่ GPIO บนบอร์ด Arduino นั้นมีให้เราอย่างจำกัด ซึ่งปัญหาก็คือเวลาที่เราต้องการรับข้อมูลจากเซนเซอร์หลายๆ ตัว เราจะไม่สามารถทำได้ บางครั้งเราก็แก้ปัญหาโดยการไปหาซื้อบอร์ด Arduino รุ่นใหญ่กว่าอย่างบอร์ด Arduino Mega หรือ Due มาใช้แทน ซึ่งแน่นอนว่าราคาก็ต้องแพงขึ้นใช่ไหมครับ วันนี้เรามีเทคนิคที่ช่วยให้เราสามารถรับข้อมูลจากเซนเซอร์ได้มากสูงสุดถึง 80 ตัวโดยใช้บอร์ด Arduino UNO มาเริ่มกันเลยนะครับ รูปที่ 1 ทดสอบรับข้อมูลจากเซนเซอร์บนบอร์ด Arduino         เทคนิคที่ผู้เขียนกำลังพูดถึง นั่นก็คือการใช้เจ้าไอซีเบอร์ 4051 ตัวนี้เลยครับ เราเรียกไอซีตัวนี้ว่ามัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer : MUX) หน้าตาของตัวไอซีที่เรากำลังพูดถึงอยู่ในรูปด้านล่างครับ รูปที่ 2 ไอซีมัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer : MUX) ที่มา https://cityos.io/tutorial/1958/Use-multipl

ทำ Web server เพื่อรับข้อมูลจาก Sensor และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ตอนที่ 1 การส่งข้อมูลผ่านหน้าเว็บ

รูปภาพ
สอน  ทำ Web server ไว้ใช้ที่บ้านแบบไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อรับข้อมูลจาก Sensor และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ แบบง่ายๆ เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง และบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาดจิ๋วอย่าง NodeMCU หนึ่งตัว ก่อนที่เราจะเข้าสู่เนื่อหา เรามาทำความเข้าใจคอนเซ็ปต์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตกันก่อนนะครับว่าเป็นยังไง         ทุกวันนี้เวลาที่เราจะ ส่งและรับข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตหรือ เปิดเว็บไซต์อะไรก็ตาม อุปกรณ์ที่เราใช้งานนั้นต้องมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อผ่านสาย LAN , Wi-Fi หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่เราเรียกกันย่อๆ ว่า ISP (Internet Service Provider) อย่าง CAT, true, 3BB หรือ ToT ซึ่งมีโครงสร้างและรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายดังแสดงในรูปที่ 1 รูปที่ 1 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในการ ส่งและรับข้อมูลระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์ของเรา ในที่นี้ขอเรียกว่าไคลเอนต์นะครับ จะมีบราวเซอร์ทำหน้าที่ร้องขอและรับข้อมูล (โดยใช้ HTTP Protocol) จากเซิฟเวอร์มาแสดงผล ซึ่งในส่วนของเซิฟเวอร์เองก็จะรอรับการร้องขอแล้วส่งข้อมูล (โดยใช้ HTTP Protocol) ที่ถูกร้อ

เรียนรู้การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน และใช้งานบอร์ด Arduino ตอนที่ 3 ทำความรู้จักกับ ความต้านทานทางไฟ้ฟ้า

รูปภาพ
ทำความรู้จักกับ  ความต้านทานทางไฟ้ฟ้า วัสดุทุกอย่างที่มีการนำกระแสไฟฟ้าจะมีความต้านทาน ซึ่งก็คือความต้านทานของวัสดุนั้นต่อกระแสไฟฟ้า ค่าความต้านทานจะมีหน่วยวัดเป็น โอห์ม. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนโอห์มคือ Ω.  วัสดุที่แตกต่างกันจะมีคุณสมบัติต้านทานแตกต่างกัน แม้กระทั่งตัวเราเองก็มีค่าความต้านทานทางไฟฟ้านะครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ อุปกรณ์มีคุณสมบัติในการต้านการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า กันนั่นก็คือ ตัวต้านทาน  (Resistor) รูปที่ 1 ตัวต้านทาน (Resistor) ตัวต้านทานเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการต้านการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า ทำด้วยลวดต้านทานหรือถ่านคาร์บอน กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวต้านทานได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับค่าความต้านทานที่เรานำมาใช้ ค่าความต้านทานมาก กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านได้น้อย ค่าความต้านทานน้อย กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านได้มาก  การวัดค่าความต้านทานเราสามารถที่จะใช้  มัลติมิเตอร์  ในการวัดและอ่านค่าได้ได้ดังแสดงในรูปที่ 2 ซึ่งทุกครั้งที่เราต้องการวัดและอ่านค่า เราต้องทำการสลับสวิตส์ของมัลติมิเตอร์ไปที่โหมดวัดค่าความต้านทานก่อนนะครับ เพื่อความแม่นยำในการวัดค่าให้เ