ESP32 ไมโครชิพรุ่นจิ๋ว สำหรับงานพัฒนาด้าน Internet-of-Things (IoT)

บทความนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับนักพัฒนา และ Maker รุ่นใหม่ในยุค 4.0 ซึ่งในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เราจำเป็นจะต้องเรียนรู้และทำความรู้จักกับเครื่องมือที่จะนำมาใช้ วันนี้ผู้เขียนขอแนะนำให้รู้จักกับ ESP32


รูปที่ 1 บอร์ด ESP32 DEVKIT V1

ไมโครชิพรุ่นจิ๋ว ราคาถูก ที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Espressif เพื่อรองรับการพัฒนาผลงานและสิ่งประดิษฐ์ด้าน Internet-of-Things (IoT)

ภาพรวม ESP32
  • รองรับการเชื่อมต่อ Wireless 801.11 b/g/n/e/i ด้วยความเร็วสูงสุด 150Mbps 
  • รองรับการเชื่อมต่อผ่าน WPA/WPA2 และ WPS 
  • รองรับ Wi-Fi Direct (P2P) / Station Mode / Soft AP Mode 
  • รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth 4.2 BR/EDR/LE 
  • รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth ทั้ง Class 1/Class 2/Class 3
  •  CPU Xtensa® Dual-Core 32-bit LX6 400MIPS Internal 
  • RAM 520KB 
  • รองรับ SD/eMMC/SDIO Host 
  • รองรับ Touch Sensor จำนวน 10 channels 
  • มี SPI 4 Interfaces 
  • มี I2C 2 Interfaces และ I2S 2 Interfaces 
  • มี GPIO 32 Pin 
  • มี UART 2 Interfaces 
  • มี Hardware PWM 
  • รองรับ Remote Controller 
  • มี 32 bit-timer 2 ตัว / 64 bit-timer 2 ตัว / 48 bit-RTC-timer 1 ตัว 
  • มี ADC (Analog to Digital) ความละเอียด 12 bit จำนวน 16 channels 
  • มี DAC (Digital to Analog) ความละเอียด 10 bit จำนวน 2 channel 
  • มี Hardware เข้ารหัส Flash Memory 
  • มี Hardware เข้ารหัส AES/SHA-2/RSA/Random Number Generator สำหรับการติดต่อผ่าน HTTPS
  • แรงดันไฟฟ้า / แหล่งจ่ายไฟ 2.7 ถึง 3.6V


        รูปที่ 2 พอร์ตการเชื่อมต่อ I/O บนบอร์ด ESP32 DEVKIT V1

        ด้วยฟังก์ชั่นการทำงานของไมโครซิฟทีมีเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายด้วย Wi-Fi และ Bluetooth Low-Energy อยู่ในซิปตัวเดียวกัน เราสามารถที่จะพัฒนารูปแบบการสื่อสารและการรับส่งข้อมูลแบบใหม่ๆ แทนที่จะเป็นการที่เอา ESP32 ทุกตัวเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายแล้วส่งข้อมูลขึ้นไปที่ Server เราอาจจะเห็นการสื่อสารและรับส่งข้อมูลในรูปแบบของ Mesh Network โดยการใช้ Bluetooth ส่งข้อมูลไปรวบรวมที่บอร์ดหลักแล้วส่งขึ้นไปที่ Server การทำแบบนี้มีข้อดีเรื่องการสื่อสารได้ระยะไกลขึ้นและถ้าวางแผนตำแหน่งดีๆ ก็จะมีความเสถียรในการรับส่งข้อมูลมากขึ้น
        ESP32 มีพอร์ตการเชื่อมต่ออินพุตและเอ้าพุต(I/O) มากถึงถึง 32 พอร์ต สามารถปรับความละเอียดในการอ่านค่าสัญญาณอนาล็อกอินพุตได้ถึง 12 บิต เหมาะสำหรับหรับงานที่ต้องใช้ในการทำระบบควบคุมที่มีการรับค่าจากเซนเซอร์เพื่อนำมาประมวลผล เมื่อเทียบกับ ESP8266 หรือ NodeMCU ถือว่าเหนือกว่าหลายเท่า ในแง่ของฟังก์ชั่นการทำงานและการนำไปพัฒนาต่อยอด 
        ในส่วนของโปรแกรมผู้เขียนแนะนำให้พัฒนาโดยใช้ ESP-IDF ซึ่งจากการทดสอบสามารถใช้งานได้ครบทุกฟังก์ชั่น ใน Arduino IDE ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลผ่านทางบูลธูทระหว่าง ESP32 ตั้งแต่ 2 บอร์ดขึ้นไป ในส่วนของรายละเอียดการติดตั้งและการใช้งานผู้เขียนจะขออธิบายรายละเอียดในบทความถัดไป ขอบคุณทุกคนที่ให้ความสนใจบทความนี้ครับ

แหล่งอ้างอิง
https://esp-idf.readthedocs.io/en/latest/index.html

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Facebook: รักการเขียนโค้ด ดอทคอม 
Tell: 091-4782789

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำ Web server เพื่อรับข้อมูลจาก Sensor และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ตอนที่ 2 ส่งข้อมูลจากบอร์ด NodeMCU ขึ้น Web Server

การควบคุมมอเตอร์ Brushless ด้วย Arduino

เรียนรู้การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน และใช้งานบอร์ด Arduino ตอนที่ 1 ทำความรู้จักกับโปรแกรม Tinkercad Circuits