สร้าง RESTful API for ESP32 ฉบับเข้าใจง่าย ตอนที่ 2 เริ่มต้นกับ Node.js

        Node.js คือ JavaScript Runtime ที่ทำหน้าที่อยู่ฝั่ง Backend ทำตัวเป็น Web Server จากเดิมที่เคยอยู่ฝั่ง Frontend
        Node.js เป็น Cross Platform Enviroment แถมยังเป็น Open Source อีกด้วยนะ
        

        Node.js มีตัวจัดการ Package ต่างๆ ที่เราต้องการใช้งานชื่อ npm ย่อมาจาก Node package manager ซึ่งจะถูกติดตั้งมาพร้อมกับ Node.js

ติดตั้ง Node.js และ npm
        
        เราจะติดตั้ง Node.js เพื่อให้สามารถรัน Javascript บน Server ได้ และ npm ไว้สำหรับจัดการ Packet ต่างๆ สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ nodejs.org

        เราสามารถเลือก Version ที่ต้องการติดตั้ง โดยจะมีเวอร์ชั่นที่แนะนำสำหรับผู้ใช้ส่วนใหญ่(Recommended For Most User) และเวอร์ชั่นล่าสุด(Latest Features) หลังจากดาวโหลดเสร็จแล้วให้เราทำการ Install ลงบนเครื่อง เมื่อติดตั้งแล้วทดลองด้วยการพิมพ์คำสั่ง node -v ใน terminal ถ้าสำเร็จจะแสดง version ของ Node.js ในหน้าต่าง terminal  และทดลองด้วยการพิมพ์คำสั่ง npm -v ใน terminal เพื่อตรวจสอบว่า npm ที่ถูกติดตั้งมาด้วย
         หลังจากเราติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วทีนี้ Enviroment เราก็พร้อมจะใช้งานแล้ว

เริ่มต้นกับ Node.js

เริ่มต้นโดยการสร้างโฟลเดอร์และไฟล์ package.json
1.สร้างไฟล์เดอร์ใหม่ชื่อ my-app
2.เปิดหน้าต่าง terminal โดยต้องอยู่ใน path ของ my-app แนะนำสำหรับ Windows ถ้าเราอยู่โฟล์เดอร์ my-app ให้เรากด Shift ที่คีย์บอร์ดค้างไว้จากนั้นคลิกเมาส์ขวาเลือก Open terminal... ได้เลยครับ
3.สร้างไฟล์ package.json ด้วยคำสั่ง npm init -yซึ่งเป็นเสมือนบัตรประจำตัวของโปรเจ็คนั้นๆ ที่จะระบุว่า โปรเจ็คนั้นชื่อว่าอะไร มีเวอร์ชันที่เท่าไหร่ รายละเอียดอะไรบ้าง ต้องใช้ Dependencies อะไรบ้าง อื่นๆ อีกเยอะแยะ

เริ่มต้นแอพแรกกับ Node.js
1.เปิด Editor กันเลย (แนะนำให้ใช้ Visual Studio Code หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า  vs code เนื่องจากมี Terminal ในตัว) สร้างไฟล์ใหม่ในไฟล์เดอร์  my-app ตั้งชื่อไฟล์ index.js
2.จากนั้นพิมพ์ console.log("hello world");ในไฟล์ index.js ซึ่งเป็นคำสั่งแสดงข้อความ hello world! ออกมาทาง Console 
3.หลังจากนั้น save แล้วสั่งรันโปรแกรมโดยพิมพ์  node index.js
4.ที่หน้าต่าง Terminal จะแสดงข้อความ hello world!

        ตอนนี้เราได้เรียนรู้และทำการติดตั้งเครื่องมือสำหรับเตรียมสร้าง RESTful API for ESP32 เรียบร้อย แล้วบทความถัดไปเราจะมาเรียนรู้การสร้าง RESTful API ด้วย Express สำหรับรับข้อมูลจากบอร์ด ESP32 และทดลองใช้งานด้วย Advanced REST client

บทความโดย 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Facebook: รักการเขียนโค้ด ดอทคอม
Tel: 091-478-2789
Email: lovecoding.blogger@gmail.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำ Web server เพื่อรับข้อมูลจาก Sensor และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ตอนที่ 2 ส่งข้อมูลจากบอร์ด NodeMCU ขึ้น Web Server

การควบคุมมอเตอร์ Brushless ด้วย Arduino

เรียนรู้การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน และใช้งานบอร์ด Arduino ตอนที่ 1 ทำความรู้จักกับโปรแกรม Tinkercad Circuits